Pages

หลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ สด จนทสโร พระผู้ปราบมาร

หลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ สด จนทสโร พระผู้ปราบมาร

โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย

Translation

DMC.tv  ธรรมะ สมาธิ FEED

Sunday, August 29, 2010

บันได 5 ขั้น สู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่าและเป็นสุข

บันไดขั้นที่ 1 มองตัวเองว่าดีและมีค่าทุกวัน ในแต่ละวันให้ นึกถึงความดี และความโชคดีของตนเอง  เริ่มต้นด้วยการ…….. 
  1. ตื่นนอนตอนเช้า ให้ยิ้มกับตัวเอง  และนึกว่าโชคดีที่ได้ตื่นขึ้นมาแล้ว 
  2.  ให้ นึกถึงความดีของตนเอง  ที่เคยทำมาแล้วในอดีต (ที่สามารถนึกได้ง่ายๆ) เช่น เคยทำบุญ เคยช่วยคนที่อ่อนแอกว่า เคยสงเคราะห์สัตว์ ฯลฯ คิดว่าตัวเองดี และมีคุณค่าที่ได้เคยทำสิ่งดีๆ และให้นึกซ้ำๆ จะได้เกิดความเชื่อตามที่นึกนั้น คุณก็จะเกิดความอิ่มเอิบใจ และเชื่อว่าตัวเองมีความดี ความเก่ง ตามความเป็นจริงในขณะนั้นด้วย คุณจะเกิดความอยากมีชีวิตอยู่ และสร้างสิ่งที่ดีๆ ให้กับชีวิตต่อไป และ 
  3. ต้องอวยพรตัวเองเสมอๆ อย่าแช่ง หรือตำหนิตัวเอง  และอย่ารอให้คนอื่นมาชื่นชมคุณ ซึ่งมักจะไม่ได้ดั่งใจ หรือได้มาก็ไม่สมใจ
บันไดขั้นที่ 2 มองคนอื่นดี มองโลกในแง่ดี   ขั้นนี้คุณจะต้องมองว่า…..
  1. ทุกๆ คน มีขีดจำกัดของความสามารถ ความดี ความเก่งกันทุกคน  ตามความเป็นจริงของเขา ซึ่งไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกันเลย  
  2. ส่วนความไม่ดี หรือไม่เก่งของเขา (ซึ่งมีกันทุกคน) ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาไป ให้มองเฉพาะส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น  ถ้าคุณทำได้เช่นนี้ คุณก็จะเป็นคนที่มองอนาคต และชีวิตดี มีความหวังที่ดีในชีวิตตลอดเวลา สองสิ่งนี้ ถ้าคุณทำเป็นนิสัย คุณจะพบว่า โลกนี้มีสิ่งที่ดีๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ และท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นสุขนิยมทั้งชีวิต
บันไดขั้นที่ 3 ทำวันนี้ให้ดีที่สุด        คือ…..
  1. การ อยู่กับปัจจุบัน   ทำกิจกรรมในวันนี้และเวลานี้ให้ดีที่สุด  ทำได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ทุกข์ร้อน หรือคาดหวังกับผลลัพธ์ของมัน ไม่ว่าจะสมใจ หรือไม่สมใจก็ตาม
  2. จงชื่นชมในความตั้งใจ ทำเต็มความสามารถของตนเอง  และคิดต่อว่า ในอนาคตจะต้องทำให้ดีกว่านี้ นอกจากนั้น
  3. คุณต้อง เลิกจดจำ หรือนึกถึงเรื่องที่ไม่ดีที่เกิดกับคุณในอดีต  เพราะการจดจำเรื่องราวที่ไม่ดีในอดีต เท่ากับคุณไปสะกิดแผลในใจ และจะทำให้คุณเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ปัจจุบันคุณไม่มีความสุข และกลัวว่าอนาคตจะเกิดสิ่งที่ไม่ดีซ้ำๆ อีก

บันไดขั้นที่ 4
  1. จงนึกและบอกกับตัวเองเสมอว่า อนาคตจะดีขึ้นอีกเรื่อยๆ  จะส่งผลให้เกิดกำลังใจมากขึ้น อยากพบเห็นสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตโดยไม่กลัว
  2. มีอารมณ์ขัน และไม่จริงจังกับชีวิตมากนัก  แต่จะมีความหวังที่ดีๆ (Good Hope) อยู่เสมอ แต่อย่ามีความคาดหวัง ( Expectation) กับชีวิต เพราะถ้าคาดหวังกับชีวิต เรามักจะกลัว หรือกังวลว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ดังความคาดหวัง หรือเมื่อได้มาแล้วก็มักไม่พอใจ จึงอาจทำให้เกิดทุกข์ได้

บันได้ขั้นที่ 5 ปรับปรุงตัวเองเสมอ  โดยปรับปรุง 4 ส่วนที่มีความสำคัญต่อชีวิต คือ  
  1. การงาน  ให้มีความขยัน อดทน หมั่นหาความรู้ใส่ตัว และกล้าลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ควรทำ จะทำให้มีการลงมือทำสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตได้เรื่อยๆ และปรากฏเป็นผลงานที่ชัดเจน
  2. ครอบครัว  จะต้องยึดหลักที่เป็นมงคลต่อกันคือ ไม่อิจฉา ไม่ระแวง ไม่แข่งขัน ไม่นอกใจ รู้จักการให้และการอภัย มีน้ำใจ และรู้จักเกรงใจกัน
  3. สังคม  หมั่นสร้างมิตรเสมอ มีการให้ความสำคัญกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพูดจากันแบบปิยะวาจา
  4. ตนเอง  ต้องมีการพัฒนาตนเองเสมอ มีความภูมิใจตนเองตามความเป็นจริง สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ และมีกำลังใจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

Tuesday, August 24, 2010

ทำแต่กรรมดี

 ให้เราสร้างแต่กรรมดีสิ่งที่ไม่ดีให้ภพชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่จะเอามัน ออกให้หมดแล้วภพชาติต่อไปเราจะมีแต่กรรมดีแต่เราต้องมาเกิดอีก เพราะกิเลสเรายังไม่หมดกรรมชั่วเราไม่ทำ เราจะทำแต่กรรมดี 

บุญของฉัน

บุญของฉัน

ฟังธรรมะ ทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธฺ์ อยู่เสมอ บุญจาการฟังธรรมก็จะเกิดกับฉัน ฉันจะมีความสุขมาก ๆ ตลอดไป ฉันจะสะสมบุญของฉัน ให้มาก ๆ ทำบุญทุกวัน 

Tuesday, August 17, 2010

หลวงพ่อบอกว่า

หลวงพ่อบอกว่า การที่ใจยังไม่มีที่พึ่ง ยังเข้าไม่ถึงดวงใสๆ องค์พระใสๆ ใจยังไม่นิ่งแน่นมั่นคงกับองค์พระภายในนี้ต่างหากคือวิกฤติที่แท้จริงของ ชีวิต

Saturday, August 14, 2010

ไม่มีวันใดที่ฉันไม่นึกถึงบุญของฉัน

บุญเท่านั้นที่นำเราจะความสุขและความสำเร็จ มาให้ จึงต้องนึกถึงบุญที่เราได้ทำอยู่เสมอ ๆ แล้ว เร าจะรู้สึกดีใจ ปลื้มใจ
อย่าได้เสียเวลาวันวันหนึ่ง ให้หมดไปกับการคิดแต่เรื่องไม่ดี ไม่สบายใจ ไม่เป็นผลดีแก่ตัวเอง

Friday, August 13, 2010

การให้อภัย

การให้อภัย
 
    สถานการณ์ปัจจุบัน ในวิถีชีวิตที่ตั้งอยู่บนความเร่งรีบ เราต้องเจอกับการแข่งขันกันทุกอนุวินาทีทั้งในทางธุรกิจ หน้าที่การงาน การดิ้นร้นหาเลี้ยงชีพในทุกสาขาอาชีพ เพื่อความอยู่รอดในสังคม ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนดให้เราต้องพบปะผู้คน ต้องเจรจา ติดต่อสื่อสาร ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เรามีอารมณ์ที่ขุ่นมัวได้ไม่เว้นแต่ละวัน และสาเหตุหลักที่ทำให้เราขุ่นมัว หงุดหงิด รำคาญใจ ก็คือความโกรธ หากเราปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้เกาะกุมจิตใจนานๆ เข้า ก็เท่ากับว่าเรากำลังทำร้ายตัวของเราเอง เพราะฉะนั้น เรามารักตัวเองด้วยการ ให้อภัย กันดีกว่า
 
การที่เราสามารถให้อภัยคนอื่นได้ด้วยใจ ก่อนอื่นเรายอมรับตัวเองให้ได้ก่อนในความเชื่อที่ว่า
 
1.
ความเชื่อว่าเราเสียประโยชน์
2.
ความเชื่อเราคือผู้ถูกกระทำ เราไม่ใช่คนผิด
3.
ไม่ยอมรับว่าตนเองผิด
4.
คนผิดต้องได้รับโทษ
 
*ความเชื่อเหล่านี้จะทำให้เราไม่สามารถให้อภัยคนอื่นได้ วิธีง่ายๆที่จะทำให้เราสามารถให้อภัยคนอื่นได้ด้วยความจริงใจ
 
1.
เขียนรายชื่อคนที่เรา คิดว่าให้อภัยไม่ได้
2.
เขียนระบายความรู้สึกคับแค้นใจของเราต่อท้ายรายชื่อเหล่านั้น อ่าน แล้วก็ทิ้งลงถังขยะ
3.
จินตนาการเข้าไปในใจของคนๆนั้นว่าทำไม่เขาต้องทำอย่างนั้น ถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไร
4.
เขียนสิ่งที่ควรจะขอบคุณเขาคนนั้น
5.
ใช้คำปฏิญาณ ว่าต่อไปนี้ฉันจะให้อภัยคุณ และกล่าวขอบคุณ
6.
เขียนสิ่งที่อยากขอโทษ
7.
เขียนสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเขา
8.
ประกาศว่า ฉันจะให้อภัยคุณ หน้ากระจก
 
การกระทำบางข้อตอนแรก เราอาจจะรู้สึกฝืนๆ แต่ถ้าเราทำซ้ำๆ ความรู้สึกให้อภัยก็จะเกิดจากใจจริงของเรา
 
*ข้อคิดทางธรรมในอีกแง่มุม ซึ่งเราสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำของเราในการให้อภัย คือ
 
1.เห็นโทษ  เราต้องเห็นโทษของความโกรธหรือความขุ่นมัว ว่าเป็นเรื่องที่ทำลายสุขภาพของตัวเราเอง ให้เรามองภาพรวม อย่ามองด้านเดียว เพราะหากเราผูกโกรธ ผลที่เกิดก็จะติดตามข้ามภพข้ามชาติ เหมือนเราแบกซากศพไปกับเราทุกที่
2.เห็นสาเหตุ เราต้องมองย้อนกลับไปหาเหตุ ว่าทำไม่เราถึงให้อภัยไม่ได้ ไม่มีใครดี 100% ในเสียมีดี ในดีมีเสีย ให้เรามองทุกอย่าง 2 ด้านเสมอ

โลกใบนี้

ทำไม โลกใบนี้ จึงมีผู้คนมากมาย มาเกิดอยู่อาศัย ใช้ชีวิต ต่าง ๆ นานา ๆ ชอบต่างกัน มีแบบอย่างของชีวิตแตกต่างกัน


เมื่อวานซืนผมเดินทางไปหมอชิต เพื่อที่จะกลับบ้านต่างจังหวัด เจอคนรอรถอยู่มากมาย แน่นหมอชิต เนื่องจากเป็นช่วงหยุดวันแม่ ต่อเนื่องหลายวัน  ต่างคนต่างมา และต่างกันก็ต่างไปคนละที่คนละแห่ง  ผมคิดว่าโลกใบนี้ก็เหมือนกัน ต่างคนต่างมา อยู่ด้วยกัน แล้วก็ต่างคนต่างไป วนเวียนอยู่เช่นนี้ ไม่จบสิ้น